top of page
  • Chayada

หน่วยวัดขนาดข้อมูลของคอมพิวเตอร์


ปัจจุบันเราคงคุ้นกับคำว่า bit byte, Kb, Mb, Gb หรือ Tb กันอยู่บ้าง ซึ่งคำเหล่านี้ก็คือ หน่วยนับข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือเรียกอีกอย่างว่าหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแต่ละหน่วยนับนั้นมีความจุและการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบคอมพิวเตอร์คือ บิต (bit) และหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบข้อมูลคือ ไบต์ (Byte)


การวัดขนาดหน่วยความจำ นิยมใช้หน่วยเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเทียบได้เท่ากับตัวอักษร 1 ตัว โดยที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้หน่วยความจำที่ใหญ่มาก เพื่อให้สะดวกจึงต้องคิดหน่วยที่ใหญ่ขึ้นไปอีกมาเรียก นั่นคือ หน่วยกิโลไบต์ (KB) เท่ากับ 1024 ไบต์ และเมกะไบต์ (MB) ซึ่งเท่ากับค่าประมาณ หนึ่งล้านไบต์ ดังนี้


1 Byte (ไบต์) = 1 ตัวอักษร

1 KB (กิโลไบต์) = 1024 ตัวอักษร

1 MB (เมกะไบต์) = 1024 KB

1 GB (กิกะไบต์) = 1024 MB


สำหรับเหตุผลที่ 1 KB มีค่าเท่ากับ 1024 ไบต์ก็เนื่องจากระบบจำนวนที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ เป็นระบบเลขฐานสอง ทำให้การคำนวณค่าใช้เลข 2 เป็นฐาน แล้วยกกำลัง 10 เท่ากับ 210 เท่ากับ 1024 และเนื่องจาก 1024 มีค่าใกล้เคียงกับ 1000 จึงเป็นที่ยอมรับกันให้เรียกว่า กิโล “Kilo” เช่นกัน


ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก ส่งผลให้ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์มีจำนวนมาก หน่วยกิกะไบต์แทบจะไม่เพียงพอ จึงได้มีเพิ่มความจุ ดังนี้


Data Measurement

Bit = Single Binary Digit (1 or 0)

Byte = 8 bits

Kilobyte (KB) = 1,024 Bytes

Megabyte (MB) = 1,024 Kilobytes

Gigabyte (GB) = 1,024 Megabytes

Terabyte (TB) = 1,024 Gigabytes

Petabyte (PB) = 1,024 Terabytes

Exabyte (EB) = 1,024 Petabytes


ดังนั้น หน่วยที่เล็กที่สุดของระบบคอมพิวเตอร์คือ บิต(bit) และหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบข้อมูลคือ ไบต์(Byte) ในปัจจุบันอุปกรณ์บันทึกข้อมูลและหน่วยความจำต่าง ๆ จะใช้หน่วยความจุเป็น KB, MB, GB , และTB เท่านั้น สำหรับหน่วย PB, EB, ZB, และYB ยังไม่มีอุปกรณ์หรือหน่วยความจำใดสามารถทำความจุได้มากขนาดนั้นจึงยังไม่มีการใช้ในปัจจุบัน


เรื่องของ IT ยกให้เป็นหน้าที่ของ ProOne IT ดูแล

ติดต่อสอบถามข้อมูลบริการได้ที่

Tel. 02 619 2161 กด 1 (ฝ่ายขาย)

Email : sales@professional-one.com

Line@ : Proonesales หรือคลิกลิงก์


ขอบคุณข้อมูลจาก

อพวช

bottom of page