top of page
Chayada

สร้าง Software เอง VS ซื้อ Software ใช้แบบไหนคุ้มค่ากว่า


คุณเคยเผชิญหน้ากับปัญหาการตามหาซอฟต์แวร์ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณหรือไม่ หากความต้องการของธุรกิจนั้นเป็นความต้องการทั่วไปก็คงจะมีซอฟต์แวร์ที่จะช่วยแก้ปัญหาอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ถ้าเป็นความต้องการที่เฉพาะเจาะจง ธุรกิจอาจต้องพิจารณาถึงการสร้างซอฟต์แวร์มาใช้ด้วยตัวเอง

แน่นอนว่าธุรกิจต้องการเครื่องมือที่มีอยู่ในท้องตลาด แต่หากไม่มีซอฟต์แวร์ใดเหมาะ ธุรกิจก็ต้องเขียนโค้ดหรือพัฒนาซอฟต์แวร์เอง วิธีการนี้จะนำมาสู่การปฏิรูปธุรกิจจนกลายเป็นสินค้าหรือบริการที่นำมาสู่ยอดขายในที่สุด


ปัจจัยหลักประกอบการพิจารณาว่าธุรกิจควรตัดสินใจ สร้างซอฟต์แวร์เองหรือซื้อซอฟต์แวร์มาใช้ในองค์กรนั้นมีดังนี้


ต้นทุน (Costs)

ธุรกิจที่ต้องการซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรที่มีความซับซ้อน คงจะเสียค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อยหากธุรกิจต้องสร้างซอฟต์แวร์ใช้เอง ด้วยเหตุนี้หลาย ๆ บริษัทจึงเลือกที่จะหาผู้ให้บริการที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาถึงแม้ว่ามันอาจจะตอบสนองความต้องการทางธุรกิจไม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ตามการที่ธุรกิจสร้าง Software ใช้เองจะมีต้นทุนในระยะยาวที่ต่ำกว่าการซื้อจากผู้ให้บริการ เพราะไม่ต้องเสียค่าใบอนุญาต (License fee)

เมื่อธุรกิจประเมินต้นทุนสำหรับโครงการไอที (IT Project) ธุรกิจควรคำนึงถึงต้นทุนสำหรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วย Project Management Institute (PMI) พบว่าร้อยละ 43 ของ IT Project ใช้งบประมาณเกินกว่าที่ตั้งไว้ในตอนต้น และร้อยละ 49 ของ IT Project เสร็จสิ้นล่าช้ากว่ากำหนด และยิ่งไปกว่านั้นร้อยละ 14 ของ IT Project ไม่ประสบความสำเร็จ สถิติเหล่านี้เป็นเพียงการชี้ให้เห็นว่าธุรกิจควรพิจารณาระยะเวลาและต้นทุนอย่างถี่ถ้วน


เวลา (Time)

ในโลกธุรกิจนั้นต้นทุนและระยะเวลานั้นเกี่ยวเนื่องกันอย่างหลีกหนีไม่ได้ เพราะเมื่อโครงการไอที (IT Project) สำเร็จช้ากว่ากำหนดย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม และความเร่งด่วนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การใช้เครื่องมือหรือ Software ที่มีอยู่เป็นตัวเลือกที่ดี อย่างไรก็ตามหากธุรกิจมีระยะเวลาและทรัพยากรที่สามารถลองเทคโนโลยีที่แตกต่าง (กรณีที่หากเกิดความล่าช้าแล้วไม่เกิดความเสียหาย) ธุรกิจก็สามารถที่จะสร้างหรือพัฒนา Software ขึ้นเองได้

สำหรับตัวผู้เขียนเอง วงจรการทำงานรอบแรกจะใช้ระยะเวลาราว 4 เดือน ซึ่งการพัฒนา Software อาจไม่ราบรื่นและอาจจะดีกว่าหากซื้อ Software สำเร็จมาใช้


ผู้พัฒนาหรือนักเขียนโปรแกรม (Developer Resources)

ก่อนการพิจารณาว่าธุรกิจควรสร้างแอปพลิเคชันหรือไม่นั้น ธุรกิจควรคำนึงถึงจำนวนผู้พัฒนาหรือนักเขียนโปรแกรมว่ามีเพียงพอที่จะสร้างและรักษาดูแลซอฟต์แวร์ตัวใหม่ได้หรือไม่ หากทรัพยากรบุคคลไม่พร้อมก็ต้องพิจารณาจ้าง หรือจะใช้ผู้พัฒนาเท่าที่ธุรกิจมีอยู่ ซึ่งในกรณีส่วนใหญ่การสร้างซอฟต์แวร์ใช้เองในองค์กรนั้นต้องการผู้พัฒนาที่มีประสบการณ์จำนวนมากซึ่งแน่นอนว่านำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

ในบางกรณีธุรกิจอาจไม่จำเป็นต้องจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มหากบุคลากรที่มีอยู่สามารถทำขึ้นเองได้ แต่อย่างไรก็ตามหากธุรกิจจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่ม เมื่อพัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จ พวกเขาเหล่านั้นยังจะมีหน้าที่ดูแลรักษาระบบต่อ หรือถ้าเกิดความขัดข้อง ธุรกิจต้องมั่นใจว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์คนอื่นจะต้องสามารถรับช่วงการดำเนินการ และการดูแลรักษาระบบต่อโดยไม่เกิดปัญหาภายหลัง

ธุรกิจสามารถเลือกพิจารณาซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในตลาดหากเป็นกรณีที่ธุรกิจซื้อซอฟต์แวร์มาใช้ แต่เมื่อใดก็ตามที่ต้องมีการปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้เข้ากับองค์กร ธุรกิจจะต้องรอและหวังให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของบริษัทผู้ให้บริการนั้น ๆ ว่างให้บริการทันถ่วงทีที่เกิดความต้องการหรือปัญหา


ทางเทคนิค (Technical)

ซอฟต์แวร์ที่ถูกสร้างเพื่อใช้ภายในองค์กรมักจะมีฟังก์ชันการใช้งานที่น้อยกว่าซอฟต์แวร์ที่มาจากบริษัทผู้ให้บริการ อย่างไรก็ตามการสร้างซอฟต์แวร์ใช้เองนั้น ธุรกิจก็สามารถพัฒนาให้เหมาะกับขนาดองค์กรและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้

บางครั้งบริษัทผู้ให้บริการซอฟต์แวร์อาจสามารถปรับปรุงหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เหมาะกับลูกค้าได้หากมีความต้องการ และด้วยการแข่งขันในตลาดที่สูง ผู้ให้บริการจึงพยายามพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

บริษัทผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นใหม่อาจตัดสินใจที่จะไม่รับลูกค้าระดับองค์กรจำนวนหลายรายพร้อมกัน เพราะความต้องการที่แตกต่างกันมากเกินไป อย่างไรก็ตามหากความต้องการของธุรกิจมีความเป็นไปได้ ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการก็จะสามารถหาข้อตกลงกันได้นั่นเอง

หากธุรกิจต้องรวมระบบเข้าด้วยกัน การใช้ซอฟต์แวร์ที่ธุรกิจสร้างขึ้นเพื่อใช้เองนั้นจะสามารถเชื่อมกับซอฟต์แวร์ใดก็ได้ที่ธุรกิจต้องการ ในขณะที่การใช้ซอฟต์แวร์จากผู้ให้บริการจะมีข้อจำกัดต่าง ๆ


ความปลอดภัย (Security)

องค์กรที่เผชิญหน้ากับภัยคุกคามทางไซเบอร์มีจำนวนสูงขึ้นทุกปี และพบว่าราวร้อยละ 30 ของบริษัททั้งหมดจะพบกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในอีกสองปีข้างหน้า หากธุรกิจสร้างซอฟต์แวร์ใช้เองนั้น ธุรกิจพร้อมหรือไม่ที่จะเจอกับการคุกคามของเหล่าแฮกเกอร์ ซึ่งหากเป็นซอฟต์แวร์จากบริษัทผู้ให้บริการอาจมีการออกแบบเพื่อเตรียมรับมือกับการคุกคามทางไซเบอร์ที่มากกว่า

ยิ่งไปกว่านั้นธุรกิจไม่สามารถมั่นใจได้ว่าผู้ให้บริการซอฟต์แวร์จะดำเนินการไปได้ตลอด ซึ่งถ้าธุรกิจใช้บริการกับบริษัทภายนอก ธุรกิจต้องพึ่งความสำเร็จและการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจจะเลือกใช้บริการซอฟต์แวร์จากบริษัทที่น่าเชื่อถือและมีความมั่นคง


การแข่งขัน (Competition)

หากเป็นไปได้ธุรกิจควรศึกษาว่าคู่แข่งใช้ซอฟต์แวร์หรือเครื่องมืออะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น การทราบว่าคู่แข่งใช้ซอฟต์แวร์อะไรนั้นอาจเป็นโอกาสให้ธุรกิจสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ดีกว่าคู่แข่ง กล่าวคือ เป็นโอกาสให้ธุรกิจได้ถือไพ่เหนือกว่าคู่แข่ง ในทางตรงกันข้าม หากธุรกิจลงทุนพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ไม่จำเป็นกับธุรกิจหลักมากเกินไป อาจทำให้ธุรกิจกลายเป็นผู้เสียเปรียบเสียเอง


ซื้อ สร้าง หรือ ผสมผสาน?

แต่ละบริษัทมีเงื่อนไขและสถานการณ์ที่เผชิญแตกต่างกันทำให้การใช้คำแนะนำหรือแนวทางการเลือกว่าควรสร้างซอฟต์แวร์ใช้เองหรือซื้อซอฟต์แวร์ใช้นั้นเป็นไปได้ยาก บางครั้งซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในตลาดนั้น ๆ อาจมีฟังก์ชันไม่เพียงพอจนอาจทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องพัฒนาด้วยตัวเอง และหลังจากธุรกิจประเมินเทียบข้อดีข้อเสียแล้วบางครั้งอาจนำมาซึ่งวิธีแบบผสมผสานทั้งสร้างพร้อมกับซื้อซอฟต์แวร์มาใช้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจอาจนำโครงสร้างซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในตลาดมาต่อยอดเป็นต้นแบบเพื่อพัฒนาเองต่อ หรือธุรกิจอาจซื้อซอฟต์แวร์ใช้ในกรณีเร่งด่วนพร้อมพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเองควบคู่กันไปเพื่อใช้ในระยะยาว


หากสนใจปรึกษาการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้เองในองค์กรหรือซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปใช้

ติดต่อสอบถามข้อมูลบริการได้ที่

Tel. 02 619 2161 กด 1 (ฝ่ายขาย)

Email: sales@professional-one.com

Line@: Pronesales หรือคลิกลิงก์

เรื่องของ IT ยกให้เป็นหน้าที่ของ PRO ONE IT ดูแล


Nick Ustinov. (2021). Building An In-House Solution Vs. Buying Software: Pros And Cons To Consider. Retrieved August 15, 2021, from https://www.forbes.com/sites/forbestechcouncil/2021/07/29/building-an-in-house-solution-vs-buying-software-pros-and-cons-to-consider/?sh=225c54967dc5.


ดู 758 ครั้ง
bottom of page